บริษัท ทูเวย์เรดิโอคอมมูนิเคชั่น จำกัด

บริษัท ทูเวย์ เรดิโอ คอมมูนิเคชั่น จำกัด
จำหน่ายวิทยุสื่อสารจากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก ให้เช่า บริการติดตั้ง ซ่อมบำรุง วางระบบวิทยุสื่อสาร ระบบวงจรปิด และ ระบบความปลอดภัย

2WayRam เรา ครอบคลุม ทุกความถี่วิทยุ

บริษัท ทูเวย์ เรดิโอ คอมมูนิเคชั่น จำกัด

จำหน่าย ให้เช่า ติดตั้งวางระบบวิทยุสื่อสาร จากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก พร้อมบริการดูแลหลังการขายครบวงจร มีหน้าร้าน และ ศูนย์บริการ

ครบเครื่องเรื่องวิทยุสื่อสาร

  • จำหน่ายวิทยุสื่อสาร
  • บริการให้เช่าวิทยุสื่อสาร
  • ศูนย์บริการซ่อมวิทยุสื่อสาร
  • รับวางระบบสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณ
  • บริการติดตั้งเสาวิทยุสื่อสารติดตั้งรถยนต์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชนและบุคคลทั่วไป
  • บริการติดตั้งเสาวิทยุสื่อสารติดตั้งรถบิ๊กไบค์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชนและบุคคลทั่วไป
  • บริการติดตั้งเสาสัญญาณวิทยุสื่อสารภายในและภายนอกอาคาร
  • บริการติดตั้งเสาทาวเวอร์สำหรับระบบวิทยุสื่อสาร ระบบกล้องวงจรปิด ระบบเสาไวไฟ
  • บริการติดตั้งวางระบบกล้องวงจรปิด
  • จำหน่ายอุปกรณ์ป้องกันภัย PPE
  • จำหน่ายอุปกรณ์จราจรทุกชนิด

คำถามที่ถามบ่อย

ทำความรู้จักกับวิทยุสื่อสารกันก่อนเลือกซื้อสินค้า

วิทยุสื่อสารแบ่งเป็นแต่ละประเภทดังนี้
  • วิทยุสื่อสารสำหรับประชาชน
    ความถี่ 245-247 MHz , 27 MHz
  • วิทยุสื่อสารสำหรับสมัครเล่น
    ความถี่ 144-147 MHz
  • วิทยุสื่อสารสำหรับราชการ
    ความถี่ 144-147 MHz
  • วิทยุสื่อสารสำหรับเฉพาะกิจ
    – วิทยุสื่อสารระบบเครือข่าย Trunked Radio
    – วิทยุสื่อสารสำหรับการบิน
    – วิทยุสื่อสารสำหรับเรือ
    – วิทยุสื่อสารกันระเบิด
  • วิทยุสื่อสารใส่ซิมสำหรับกิจการทุกประเภท

วิทยุสื่อสารสำหรับประชาชน คลื่นความถี่ 245.000-247.000MHz

เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปและองค์ต่างๆสามารถใช้งานได้ ส่วนใหญ่การใช้งานจะเป็นลักษณะการสื่อสารเพื่อประสานงานกันในกลุ่ม โรงแรม โรงงาน ศูนย์การค้า งานรักษาความปลอดภัยหรืออีเว้นท์ต่างๆ ข้อดีของวิทยุสื่อสารเครื่องแดงสำหรับประชาชนคือเราไม่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนหรือรายปี แต่ตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าการใช้งานที่ถูกต้องจะมีรายละเอียดดังนี้
  • วิทยุสื่อสารจะต้องเป็นเครื่องที่ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานจากหน่วยงาน สำนักงาน กสทช. โดยเครื่องจะต้องมีสติ๊กเกอร์ตราครุฑติดไว้ที่ด้านหลังของตัวเครื่อง โดยมีอักษรย่อ NTC.ID___ติดที่สินค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเช่นหมายเลขของประเภทวิทยุสื่อสาร-หมายเลขของผู้ขออนุญาตนำเข้าเป็นต้น
  • วิทยุสื่อสารที่มีกำลังส่งไม่เกิน 0.5วัตต์หรือ 500 มิลลิวัตต์ ยกเว้น ไม่ต้องจดขออนุญาตใช้
  • วิทยุสื่อสารที่มีกำลังส่งมากกว่า 0.5วัตต์ หรือ 500 มิลลิวัตต์ ขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนขออนุญาตใช้เครื่องตามประกาศของสำนักงาน กสทช. อัตราค่าธรรมเนียมและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการขออนุญาต คลิกดูที่ลิงค์นี้

วิทยุสื่อสารสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น

เป็นเครืองสีดำความถี่ใช้งานตามที่สำนักงาน กสทช.กำหนด ย่านความถี่144.000-147.000 MHz โดยจะใช้ได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น และจะต้องสอบผ่านจาก กสทช. ได้ใบประกาศนียบัตรมาเรียบร้อยแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถใช้ได้ และต้องมีการขอนามเรียกขาน เพื่อเอาไว้เรียกแทนตัวเองด้วย

วิทยุสื่อสารสำหรับหน่วยงานราชการ

วิทยุสื่อสารเครื่องดำหรือบางยี่ห้อบางแบนด์ก็เป็นสีเขียวขี้ม้า ย่านความถี่ 136-174MHz สำหรับผู้ที่ทำงานเป็นข้าราชการ เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชนที่ได้รับอนุญาต และเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิต่างๆ เท่านั้น โดยกลุ่มคนเหล่านี้สามารถใช้วิทยุสื่อสารประเภทนี้ได้โดยข้อกำหนดการใช้งานจะเป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศซึ่งอาจไม่ต้องขอใบอนุญาตจาก กสทช. แต่จะต้องพกบัตรประจำตัวที่หน่วยงานออกให้ติดตัวไปด้วย

วิทยุสื่อสารสำหรับเฉพาะกิจ

วิทยุสื่อสารระบบเครือข่าย Trunked Radio

วิทยุคมนาคมเฉพาะกิจในย่านความถี่ 800 MHz ที่ CATเป็นผู้ให้บริการ สำหรับการใช้งานระบบนี้เพื่อติดต่อสื่อสารในลักษณะแบบกลุ่ม จัดให้มีบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การประสานงานภายในกลุ่มของคุณ สามารถติดต่อกันโดยอัตโนมัติในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยข้อมูลข่าวสารที่ติดต่อกันจะเป็นความลับเฉพาะกลุ่มของคุณ ลูกค้าที่ใช้บริการมีหลากหลายกลุ่มธุรกิจอาทิเช่น บริษัทประกันภ้ย บริษัทขนส่ง การสื่อสารมวลชน โรงพยาบาล โรงแรม และอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น

วิทยุสื่อสารสำหรับการบิน

เครื่องวิทยุสื่อสารที่ใช้ในการควบคุมจราจรทางอากาศและประสานงานภาคพื้นดินที่เราเห็นเจ้าหน้าที่ใช้ตามสนามบินหรือ ทหารอากาศ

วิทยุสื่อสารสำหรับเรือ

วิทยุสื่อสารมารีนแบนด์ คลื่นความถี่ 152.025-160.025 MHz คุณสมบัติผู้ใช้งานคือจะต้องเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสัญจรทางน้ำโดยมีใบอนุญาตประกอบกิจการทางน้ำและใบอนุญาตจาก สำนักงาน กสทช.จึงจะสามารถใช้งานได้ ลักษณะการใช้งานเพื่อติดต่อประสานงานระหว่างเรือหรือท่าเรือ

วิทยุสื่อสารกันระเบิด

วิทยุสื่อสารที่ใช้งานแบบผ่านเครือข่ายและไม่ผ่านเครือข่าย คุณสมบัติหลักคือตัวเครื่องต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยด้านการเกิดประกายไฟ Ex(Explosion Proof) โดยผ่านการรับรองจากหน่วยงานแต่ละมาตรฐานเช่น FM, UL, ATEX คือวิทยุสื่อสารต้องไม่เกิดประกายไฟแม้วงจรช๊อต เหมาะอย่างยิ่งสำหรับกิจการทั่วไปที่ต้องการความปลอดภัย เช่นโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม สำหรับกลุ่มพลังงาน เช่นโรงกลั่นน้ำมัน โรงงานที่มีความเสี่ยงเช่นสารละเหยก๊าซวัตถุไวไฟ

วิทยุสื่อสารใส่ซิมสำหรับกิจการทุกประเภท

วิทยุสื่อสารระบบ POC คือการใช้งานผ่านเครือข่าย ระบบ 3G 4G ที่ต้นทุนต่ำ เนื่องจากการใช้งานที่สะดวกและไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทางระหว่างสื่อสาร จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้ทุกประเภท หน้าที่หลักของระบบนี้คือการจัดการงานและการสั่งการ งานบริการต่าง ๆ สำหรับองค์กร สถาบันและกลุ่มต่างๆ ส่วนใหญ่สำหรับผู้ใช้งานเป็นกลุ่ม เช่น หน่วยรักษาความปลอดภัยสาธารณะ บริการขนส่งหน่วยดับเพลิง โรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้านการขนส่ง การบินในสนามบิน การชุมนุมขนาดใหญ่ ฯลฯ ด้วยความครอบคลุมที่กว้างขวางและต้นทุนต่ำ จึงสามารถปรับการใช้งานให้เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเหล่านี้ เช่นเหตุฉุกเฉินหรือต้องการสื่อสารแบบกลุ่มที่อยู่ต่างพื้นที่กัน เป็นต้น